วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บุคคลสำคัญของประเทศไทย



ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี





                                ท่านเกิดวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๔๗๕

การศึกษา
- ปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปริญญาทางมนุษยพันธุศาสตร์ (Human Genetics) มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร
- แพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล)
- เตรียมแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน
- ที่ปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัยต่างๆ



ตำแหน่งที่สำคัญในอดีต
- รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาและวางแผน มหาวิทยาลัยมหิดล
- หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานทางการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
- ประธานสถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย
- ประธานมูลนิธิไทย
- ประธานคณะกรรมการวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ แผนกแพทยศาสตร์ มูลนิธิ อานันทมหิดลและกรรมการมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกแพทยศาสตร์
- ประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
- ประธานคณะอนุกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติการหลักการจัดตั้งราชวิทยาลัยครุศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
- ประธานคณะทำงานด้านการพัฒนาพืชสมุนไพรเพื่อการผลิตยาทางอุตสาหกรรม องค์การเภสัชกรรม
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยมหิดล,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร,มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
- คณะกรรมการอำนวยการสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ประธานคณะอนุกรรมการอำนวยการส่งเสริมการวิจัยการศึกษาแห่งชาติ
- ประธานกรรมการวิชาการมูลนิธิรางวัลมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์
- คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
- คณะกรรมการการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ
- ประธานคณะกรรมการอำนวยการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (สทพ.)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก ๕ ธันวาคม ๒๕๓๔
- มหาวชิรมงกุฎ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๗


 
ประวัติการทำงาน
- ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์โท (พ.ศ. 2504)
- ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์เอก (พ.ศ. 2506)
-  ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ชั้นพิเศษ (พ.ศ. 2515)
-  ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ (พ.ศ. 2519)
-  ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ระดับ 11 (พ.ศ. 2527)
-  ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติคุณ (2535 – ปัจจุบัน)
-  ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาและวางแผน มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2522-2526)
-  ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ ศิริราชพยาบาล (พ.ศ. 2528-2530)
-  ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานทางการแพทย์และสาธารณสุข, กระทรวงสาธารณสุข (พ.ศ. 2527-2530)
- ประธานและรองประธานหรือกรรมการขององค์กรต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศมากมาย รวมทั้งมูลนิธิและสถาบันทางวิชาการอื่นรวมกว่า 60 ชุด
- ประธานสถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย (พ.ศ. 2536)
- ประธานมูลนิธิไทย
- ประธานคณะกรรมการวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ แผนกแพทยศาสตร์ มูลนิธิ อานันทมหิดลและกรรมการมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกแพทยศาสตร์
- ประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ




ผลงาน
          ด้านการโลหิตวิทยา ได้รับทุนวิจัยจากกระทรวงสาธรณสุข และของ China Medical Board วิจัยธรรมชาติของเลือดเกี่ยวกับความผิดปกติของเม็ดเลือดแดงเนื่องจากกรรมพันธุ์ ที่ก่อให้เกิดโรคโลหิตจาง และพบวิธีการป้องกันรักษา ผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับทั่วภายในและต่างประเทศ และได้รับเชิญไปบรรยาย ณ มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยหลายแห่งเกือบทุกทวีปทั่วโลก บทความทางวิชาการได้รับการตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศมากกว่า 200 เรื่อง นอกจากนั้นยังได้แต่งตำราวิชาโลหิตและคู่มือโลหิตวิทยา และยังได้รับทุนวิจัยของ National Institute of Health ประเทศสหรัฐอเมริกา
          ด้านพัฒนาวิชาชีพ โดยการใช้ความรู้ความสามารถพัฒนาวิชาชีพของแพทย์ด้วยหารศึกษาค้นคว้าวิทยาการใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง และอุทิศเวลาให้กับการสอนนักศึกษาแพทย์ด้วยความเอาใจใส่
          ด้านพัฒนาสังคม การกระจายความรู้ด้านการแพทย์และอนามัยให้แก่ประชาชนทั่วไปโดยการเขียนหนังสือและบทความต่างๆ โดยเน้นเรื่องการป้องกันการพึ่งพาตนเองในการรักษา และก่อตั้งมูลนิธิที่เกี่ยวกบการพัฒนามังคม เช่น มูลนิธิหมอชาวบ้าน มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติและเผยแพร่ความคิดเกี่ยวหับการศึกษาตลอดชีวิต
          ด้านคุณภาพชีวิตของเด็กไทย การก่อตั้งมูลนิธิเด็กให้เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน ซึ่งทำงานด้านการให้ความช่วยเหลือด้านปัจจัย 4 ทำให้ปัจจุบันหน่วยงานต่างเริ่มหันมาสนใจในการแก้ปัญหาและพัฒนาเกี่ยวกับเด็กมากขึ้น                                        
          ด้านการสอน จากชีวิตจริงที่เคยยากจนในชนบท ศาสตราจารย์ ดรใประเวศ วะสี ได้พยายามอบรมสั่งสอนนักศึกษาแพทย์ ให้เห็นความสำคัญของชาวชนบทที่ห่างไกลได้จัดวางหลักการอบรมสาธารณสุขมูลฐานแก่พระภิกษุ กระจายความรู้ด้านการแพทย์และสาธรณสุขพื้นฐาน ไปสู่ชนบท โดยเขียนลงในวารสาร หนังสือต่าง ๆ รวมทั้งยังเป็นเจ้าของและบรรณาธิการนิตยสารหมอชาวบ้านเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางเวชกรร มและการสาธรณสุขแก่ประชาชน          

                                                          

 รางวัลเกียรติยศ    
- ได้รับรางวัลเหรียญทองในฐานะที่ได้คะแนนเป็นที่ 1 ตลอดหลักสูตร พ.ศ. 2498
- ได้รับพระราชทานทุนส่วนพระองค์และต่อมาทุนมูลนิธิ อานันทมหิดลไปศึกษาต่างประเทศ พ.ศ. 2500
- ได้รับรางวัลพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีในฐานะครูแพทย์ที่ดี เป็นคนแรกของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล พ.ศ. 2512
- ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการรัฐ พ.ศ. 2524
- ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2526 พ.ศ. 2526
- ได้รับเลือกเป็นบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาการแพทย์ ได้รับเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา พ.ศ. 2528
- ได้รับเลือกเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ พ.ศ. 2531
- ได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติ “Tobacco and Health” ของ “WHO” พ.ศ. 2533
- ได้รับรางวัลบุคคลที่มีผลงานดีเด่นด้านการวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา (Comminins UNESCO) จากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยยูเนสโก

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นชาวจังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุคคลดีเด่นที่ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการรัฐ ปี พ.ศ. 2524 และบุคคลดีเด่นของชาติสาขาการแพทย์ ประจำปี พ.ศ. 2528





                             


ที่มา :

http://www.uc.mahidol.ac.th/index.php/prawase-was
http://guru.sanook.com/4298/
https://www.youtube.com/watch?v=ejXkvOdREEE
https://www.youtube.com/watch?v=CD0UKIqFPXc